วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเพณีลอยกระทง


ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทงภาคกลาง
การลอยกระทงของภาคกลางซึ่งเป็นที่มาของการลอยกระทงที่นิยมปฏิบัติกันทั้งประเทศนั้น มีหลักฐานว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีพระราชพิธี
จองเปรียงลดชุดลอยโคม
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เรียกพิธีนี้ว่า ลอยพระประทีปกระทงเนื่องจากโปรดให้ทำเป็นกระทงใหญ่ บนแพหยวกกล้วย ตกแต่งอย่างวิจิตรพิศดารประกวดประชันกัน แต่ในรัชกาลต่อมาก็โปรดให้เปลี่ยนกลับเป็นเรือลอยพระประทีปแบบสมัยอยุธยา ในสมัยพระสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดให้เลิก พิธีนี้เสียเพราะเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง
 
กระทงของภาคกลางมี ๒ ประเภทคือ
กระทงแบบพุทธ
เป็นกระทงที่ประดิษฐ์ด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง ใบกระบือ ก้านพลับพลึง ใบโกศล หรือวัสดุธรรมชาติที่หาได้ตามท้องถิ่นและประดับด้วยดอกไม้สดต่างๆ ภายในกระทงจะตั้งพุ่มทองน้อย ถ้ากระทงใหญ่จะใช้ ๓ พุ่ม กระทงเล็กใช้พุ่มเดียวและธูปไม้ระกำ ๑ ดอก เทียน ๑ เล่ม และวัสดุต่างๆตามความเชื่อของคนในท้องถิ่น
กระทงแบบพราหมณ์
วิธีการทำเช่นเดียวกับการทำกระทงแบบพุทธ จะแตกต่างกัน คือไม่ มีเครื่องทองน้อย บางท้องถิ่นจะมีการใส่หมากพลู เงินเหรียญ หรือตัดเส้นผมเล็บมือ เล็บเท้า เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ไปในตัว เป็นพิธีความเชื่อของผู้ที่นับถือศาสนาพรามณ์

วัตถุประสงค์ของการลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญที่คนไทยได้สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ นิยมทำกันในวันเพ็ญเดือน ๑๒ โดยมีวัตถุประสงค์หลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเพณีความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น
๑เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในวันเสด็จกลับจากเทวโลกเมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพุทธมารดา
๒.เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า
๓.เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
๔. เพื่อบูชาพระอุปคุตตเถระที่บำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก
๕. เพื่ออธิษฐานของในสิ่งที่ตนปรารถนา
๖. เพื่อระลึกถึงคุณค่าของน้ำ 
ประเพณีลอยกระทงภาคใต้
การลอยกระทงของชาวใต้ส่วนใหญ่นำเอาหยวกมาทำเป็นแพบรรจุเครื่องอาหารแล้วลอยไปแต่มีข้อน่าสังเกตคือ การลอยกระทงทางภาคใต้ ไม่ มีกำหนดว่าเป็นกลางเดือน ๑๒ หรือเดือน ๑๑ ดังกล่าวแล้ว แต่จะลอยเมื่อมีโรคภัยไข้เจ็บ เพื่อให้หายโรคภัยไข้เจ็บที่ตนเป็นอยู่ เป็นการลอยเพื่อสะเดาะเคราะห์การตกแต่งเรือหรือแพลอยเคราะห์ จะมีการแทงหยวก เป็นลวดลายสวยงามประดับด้วยธงทิว ภายในบรรจุดอกไม้ ธูปเทียน เงินและเสบียงต่างๆ ตามความเชื่อของคนในท้องถิ่น
ประเพณีลอยกระทงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การลอยกระทงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ จัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่างๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่นๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตาซึ่งเป็นพิธีที่ได้สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้
ความเป็นมาของประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งที่ชาวอีสานสืบทอดปฏิบัติในเทศกาลออกพรรษา ทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ถึงแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑  ตามแม่น้ำลำคลอง จังหวัดที่มีการไหลเรือไฟปัจจุบันคือ จังหวัดศรีสะเกษ สกลนคร นครพนม หนองคาย เลย และอุบลราชธานี โดยเฉพาะชาวนครพนมนั้นถือเป็นประเพณีสำคัญมาก
เรือไปหรือที่ภาษาถิ่นเรียกกันว่า เฮือไฟ เป็นเรือที่ทำด้วยกล้วยหรือไม้ไผข้างในของเรือบรรจุด้วยข้าวต้มมัดหรือสิ่งของที่เราต้องการจะบริจาค ข้างนอกมีเรือมีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดเรือให้สว่างไสวก่อนที่จะปล่อยเรือ ซึ่งเรียกว่า การไหลเรือไฟมูลเหตุของการไหลเรือไฟนั้นมีคตินิยมเช่นเดียวกับการลอยกระทง มีประเด็นความเชื่อ คือ
๑.ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธบาท
๒.ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระรัตนตรัย
๓.ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระแม่น้ำคงคา
๔.ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพญานาค

    เรือไฟโบราณ
ใช้ต้นกล้วยต่อกันเป็นแพรให้มีลักษณ์คล้ายกาบกล้วยตกแต่งด้วยดอกไม้สดที่หาได้ตามท้องถิ่น พร้อมวัสดุต่างๆตามความเชื่อของคนในท้องถิ่นใส่ลงไปภายในตัวเรือ
    เรือไฟขนาดใหญ่
ทำด้วยไม้ไผ่มัดต่อกันเป็นแพลูกบวบ ขึ้นโครงไม้ไผ่เป็นฉากดัดโครงลวดเป็นรูปทรงต่างๆ ส่วนใหญ่จะประดิษฐ์เป็นรูปเรือ รูปพญานาค นำไปผูกติดกับโครงไม้ไผ่ ใช้ขี้ไต้หรือขวดน้ำมันใส่ใส้ผูกติดกับโครงลวดเป็นระยะขึ้นอยู่กับรูปภาพที่กำหนด
ประเพณีลอยกระทงของภาคเหนือ
การลอยกระทงของคนในภาคเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก  หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า แต่ในปัจจุบันได้มีการจัดงานวันลอยกระทงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๑๒ โดยจัดเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ในหลายๆจังหวัด  เช่น ประเพณีกระทงสาย ของจังหวัดตากเป็นพิธีที่น้ำเอาพระพุทธศาสนาภูมิปัญญาของชาวบ้าน มาหล่อหลอมกันจนเป็นรูปแบบที่โดดเด่น ซึ่งชาวบ้านได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างจากจังหวัดอื่น เมื่อเราน้ำกระทงมาลอยกระทงจะไหลไปตามร่องน้ำเกิดเป็นสายยาวต่อเนื่องทำให้แสงไฟของกระทงส่องแสงระยิบระยับเป็นสายยาวทำให้ดูแล้วสวยงามมาก ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาเป็นการประกวดกระทงสวย
       ส่วนประกอบของกระทงสาย มีดังนี้
1.กระทงนำ เป็นกระทงที่มีขนาดที่ใหญ่ที่ตกแต่งด้วยใบตองสด ซึ่งประกอบไปด้วยดอกไม้สดหลากหลายที่สันที่มีความสวยงามพร้อมมีผ้าสบง เครื่องกระยาบวช หมาก พลู ขนม ฯลฯ เพื่อทำพิธีจุดธูปเทียวบูชาแม่น้ำคงคาและบูชาพระพุทธเจ้า และจากนั่นก็น้ำลงลอยเป็นอันดับแรก
2.กระทงตาม เป็นกระทงกะลามะพร้าวที่ไม่มีรู นำมาขัดถูให้สะอาด ภายในกะลานี้ ใส่ด้ายดิบที่ฟั่นเป็นรูปตีนกา แล้วหล่อด้วยเทียนไขหรือน้ำผึ้ง สำหรับเป็นเชื้อไฟจุดก่อนปล่อยลงลอย
3.กระทงปิดท้าย  เป็นกระทงขนาดกลาง ที่ตกแต่งอย่างสวยงามคล้ายกระทงน้ำแต่มีขนาดที่เล็กกว่า เป็นการบ่งบอกถึงการสิ้นสุดการลอยของสายนั่นๆ

ความเป็นมาของประเพณีลอยกระทง
ลอยกระทง เป็นพิธีกรรมร่วมกันของผู้คนในชุมชน หรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ เพื่อขอขมาต่อธรรมชาติ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าลอยกระทงเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่
ผู้คนในสุวรรณภูมิรูว่าชีวิตอยู่ได้ก็เพราะน้ำและดินเป็นสำคัญและน้ำเป็นสิ่งที่น้ำสำคัญที่สุดแก่ชีวิตของคนเราหากเราขาดแคลนน้ำก็จะทำให้ชีวิตเรารำบากมากยิ่งขึ้น ดังนั่น เมื่อคนเรามีชีวิตอยู่รอดได้ปีหนึ่ง จึงทำพิธีขอขมาสิ่งที่ได้ล่วงล้ำก่ำเกินโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยการใช้วัสดุที่ย้อยสลายได้และสามารถลอยน้ำได้ใส่เครื่องเส้นไหว้ให้ลอยไปกับน้ำ
สำหรับราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ที่อยู่บริเวณราบลุ่มน้ำ และมีน้ำท่วมนานหลายเดือน ก็เป็นศูนย์กลางสำคัญที่จะสร้างสรรค์ประเพณีเกี่ยวกับน้ำขึ้นมาเป็น ประเพณีหลวง ของอาณาจักร
ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่ชาวไทยส่วนใหญ่ให้การนับถือและให้การยอมรับเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเพณีลอยกระทงได้จัดขึ้นทุกๆปีในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยและเอกสารร่วมสมัยก็ไม่ มีปรากฏชื่อ ลอยกระทงแม้แต่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงก็มีแต่ชื่อ เผาเทียน เล่นไฟ
ที่มีความหมายอย่างกว้างๆ ว่า การทำบุญไหว้พระ ส่วนเอกสารและวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยแรกๆ ก็มีแต่ชื่อ ชักโคม ลอยโคม แซวนโคม และลดชุดลอยโคมลงน้ำ ในพิธีพราหมณ์ของราชสำนักเท่านั้น และแม้แต่ในสมัยกรุงธนบุรีก็ไม่มีชื่อนี้จนถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีปรากฏชัดเจนในพระราชพงศาวดารแผ่นดิน รัชกาลที่ ๓ฉบับ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์และเรื่องนางนพมาศ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๓ ซึ่งก็หมายความว่า คำว่า ลอยกระทงเพิ่งปรากฏในต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เองอนึ่ง ประเพณีลอยกระทงที่ทำด้วยใบตองในระยะแรก จำกัดอยู่แต่ในราชสำนักกรุงเทพฯ เท่านั้น ซึ่งมีรายละเอียดพรรณาอยู่ในหนังสือพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๓ ว่ากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ราชธิดาองค์โปรดได้แต่งกระทงเล่นทุกปี เมื่อนานเข้าก็เริ่มแพร่หลายสู่ราษฎรในกรุงเทพแล้วขยายไปยังหัวเมืองใกล้เคียงในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และกว่าจะเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วประเทศก็ประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๐ หรือก่อนหน้านั้นไม่นานนัก ส่งผลให้เกิด เพลงลอยกระทงในจังหวะของสุนทราภรณ์ ที่เผยแพร่ผ่านทางวิทยุกระจายเสียง จนในที่สุดลอยกระทงก็ถือเป็นประเพณีที่สำคัญของคนไทยทั่วประเทศ

 ประเพณีลอยกระทง
ลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญและเก่าแก่ของไทย ตรงกับวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งอยู่ในช่วงน้ำหลาก มีที่มากจากพิธีกรรมเกี่ยวกับน้ำ ซึ่งปัจจัยสำคัญในวัฒนธรรมของไทย ถึงแม้จุดมุ่งหมายความเชื่อในวันลอยกระทงจะแตกต่างกัน แต่ความหมายที่เหมือนกันของประเพณีลอยกระทงก้อคือ การแสดงออกถึงความกตัญญู รู้จักสำนึกถึงคุณค่าของน้ำ ที่ช่วยให้เรามีชีวิตที่ดี นับเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่ดีงามอย่างหนึ่งของไทย ปัจจุบันประเพณีลอยกระทงได้ถูกดัดแปลงไปบ้าง การให้ความสำคัญของความหมายของวันลอยกระทง คุณค่า สาระและแนวทางที่พึ่งปฏิบัติน้อยลง จึงได้จัดทำหนังสือเกี่ยวกับวันลอยกระทงขึ้น เพื่อเผยแพร่ ความหมาย คุณค่าสาระ แนวปฏิบัติ ตลอดจนธรรมเนียมที่ถูกต้องเกี่ยวกับวันลอยกระทง เพื่อให้คนรุ่นต่อไปไปได้น้ำมาศึกษาค้นคว้าและหวังอย่ายิ่งว่าจะเป็นแนวทางการปฏิบัติและการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในประเพณีลอยกระทง ลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณในช่วงวันเพ็ญ ๑๒ พระจันทร์เต็มดวง แสงจันทร์สอดส่องสว่างไสว แม่น้ำใสสะอาด เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เพื่อแสดงถึงความเคารพและการสำนึกบุญคุณของแม่น้ำคงคา และอื่นๆ ตามคติความเชื่อของแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นโดยใช้เป็นสื่อการในการอธิฐาน และวันลอยกระทงที่จะมาถึง ในวันที่๒๑ พฤศจิกายน ขอเชิญให้ประชาชนไทยทั่วประเทศ ร่วมสืบทอดประเพณีลอยกระทงอันดีงามนี้ไว้เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทยไม่ให้เสื่อมสูญ


วิดีโอ ประเพณีวันลอยกระทง




วิดีโอ งานประเพณีลอยกระทงจังหวัดสุโขทั


เว็บที่ใช้ในการค้นหา
http://hilight.kapook.com/view/30438
http://board.palungjit.com/